การประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์
การประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์ (Medical Signal Processing) เป็นสาขาที่นำเทคนิคการประมวลสัญญาณในด้าน วิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์ในการศึกษาและวิเคราะห์สัญญาณทาง ด้านการแพทย์ เช่น สัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ EKG) สัญญาณกล้ามเนื้อ (Electromyography: EMG) สัญญาณคลื่นสมอง (Electroencephalography: EEG) เป็นต้น
นอกจากนี้สาขาการประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์ยังรวมถึง การประมวลภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging) โดยงานวิจัย ในสาขาการประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์ของหลักสูตร วิศวกรรมการแพทย์จะมุ่งเน้นในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
การพัฒนาระบบการวินิจฉัยและตัดสินใจทางการแพทย์ (Diagnostic and Decision Support System)
การพัฒนาระบบแพทย์ระยะไกล (Medical Remote System)
การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสัญญาณแบบ Non Invasive
การพัฒนาวิธีการบีบอัดและสื่อสารสัญญาณทางการแพทย์ (Medical Signal Compression and Communication) โดยสาขาการประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์ในหลักสูตร วิศวกรรมการแพทย์ จะมีกลุ่มวิจัย Med-Intelligence and Innovation Lab (MII) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ในการสนับสนุน การทำวิจัยในสาขาการประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์
1. นายสกนธวัฒน์ อินแบน (สำเร็จการศึกษา)
รองศาสตราจารย์ ดร.นภดล อุชายภิชาติ อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาเทคนิคเพื่อแก้ไขความบิดเบี้ยวของภาพถ่ายดิจิตอลสำหรับเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ในด้านงานทันตกรรม Development of undisortion technique for digital image in dental CT scanner
2. นายเจริญชัย เหลืองอ่อน (สำเร็จการศึกษา)
รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การตรวจจับสัญญาณเอมโบลิกอย่างอัตโนมัติด้วยวิธีการแปลงเวฟเล็ตแพ็คเก็ตแบบปรับค่าได้และวิธีนิวโร-ฟัซซีแบบปรับค่าได้
3. นายกฤษณ์ ปิ่นสุข (สำเร็จการศึกษา)
รศ.ดร.จรี ไชยชาญ อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาระบบเครื่องวัดประสาทอัตโนมัติ (พาราซิมพาเทติก) Development of autonomic function (Parasympathetic) monitoring
4. นางสาวพราวทัศน์ สมบุญ (สำเร็จการศึกษา)
รองศาสตราจารย์ ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การตรวจจับสิ่งอุดตันหลอดเลือดสมองแบบทันเวลาจากสัญญาณทรานส์เครเนียลดอพเพลอร์อัลตราซาวนด์ CEREBRAL EMBOLI DETECTION USING TRANSCRANIAL DOPPLER ULTRASOUND
5. นายอนันต์ วุฒิอภิญญา (สำเร็จการศึกษา)
รศ.ดร.จรี ไชยชาญ อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การตรวจจับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจDETECTION OF MYOCARDIAL INFARCTION FROM ECG
6. นางสาววันวิสาข์ พินิจวงษ์ (สำเร็จการศึกษา)
รศ.ดร.วันชัย ไพจิตโรจนา อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาทรานส์ซิสเตอร์สนามไฟฟ้าชนิดไวต่อไอออน เพื่อการตรวจวิเคราะห์ไมโครอัลบูมิน DEVELOPMENT OF ION SENSITIVE FIELD EFFECT TRANSISTOR FOR MICROALBUMIN DETECTION
7. นางสาวมาลินี คำผอง (สำเร็จการศึกษา)
รศ.ดร.จรี ไชยชาญ อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาเครื่องวัดระบบประสาทพาราซิมพาเทติกในผู้ป่วยโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ Delvelopment of Parasympathetic Nervous System Monitoring in Obstructive Sleep Apnea Syndrome
8. นายธีรฉัตร แซ่เฮ่ง (สำเร็จการศึกษา)
รศ.ดร.จรี ไชยชาญ อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เรื่องกระบวนการตายของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี Mathematical modeling of apoptosis pathways in human cholangiocarcinoma cell lines
9. นายภูรี พิมพ์ทองงาม
รศ.ดร.นภดล อุชายภิชาติ อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาวิธีการจำแนกประเภทผู้ป่วยซึมเศร้าโดยการวิเคราะห์สัญญาณ Motor Activity
10. นางสาวมลฤดี วิจารณญาณ
รศ.ดร.วันชัย ไพจิตโรจนา อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาอนุภาคนาโนแม่เหล็กเพื่อการตรวจวิเคราะห์ภาวะไมโครอัลบูมินยูเรีย
11. นายธนกร จารุพงศ์ประภา
ผศ.ดร.นิติการ นิ่มสุข อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : EEG for stroke detection
1. นายเอกชัย ธรรมสัตย์ (สำเร็จการศึกษา)
รศ.ดร.จรี ไชยชาญ อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ : อัลกอริทึมการตรวจจับการหกล้มในผู้สูงอายุด้วยอุปกรณ์วัดความเร่งในโทรศัพท์อัจฉริยะ
2. นายอัทธิศักดิ์ ประกิจ
รศ.ดร.วันชัย ไพจิตโรจนา
วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาวัสดุแก้วป้องกันอันตรายจากแสงเลเซอร์ทางการแพทย์ (Development of glass for medical laser shielding material) การพัฒนาอนุภาคนาโนแม่เหล็กเพื่อการตรวจวิเคราะห์ภาวะไมโครอัลบูมินยูเรีย