คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ขอแสดงความยินดีกับ นายแพทย์รัฐภูมิ วัชโรภาส นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ โดยมี รศ.ดร.วิโรจน์ ลิ่มตระการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ที่ได้รับรางวัล Best Paper จากการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Development of Novel locking plate system for greater tuberosity humerus fracture base on Biomechanical Analysis of Locking plate fixation system by Finite element method”
จากงาน 4th International Conference on Multidisciplinary and Current Educational Research (ICMCER-2023)
งานวิจัยเรื่อง Development of Novel locking plate system for greater tuberosity humerus fracture base on Biomechanical Analysis of Locking plate fixation system by Finite element method เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ การออกแบบอุปกรณ์(plate and screws fixation) รูปแบบใหม่ที่ในการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกต้นแขน (Humerus)หักแบบ Greater tuberosity fractureโดยเฉพาะ โดยใช้วิธี finite element ซึ่งเมื่อเทียบกับ อุปกรณ์ที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน PHILOS locking plate system อุปกรณ์ใหม่จะมีขนาดสั้นและบางกว่า สามารถอำนวยความสะดวกในการผ่าตัดให้สะดวกขึ้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวสายรัก สอาดไพร นักศึกษาปริญญาเอก สาชาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จากการพิจารณารางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2561
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับผลงานนักศึกษา รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับผลงานนักศึกษา รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา " ระดับดี " กลุ่มที่ 2 การสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ และ " รางวัล เหรียญทอง " ระดับบัณฑิตศึกษา ชื่อผลงาน "อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขน แบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตร" จากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565
ขอแสดงความยินดีกับผลงานวิจัย “Focused Microwave Ablation for the Treatment of Patients with Localized Liver Cancer Surrounded Blood Vessel: 3D Computer Simulation, (แบบจำลองเชิงตัวเลข 3 มิติ สำหรับการทำนายกระบวนการรักษามะเร็งตับในผู้ป่วยโดยใช้ไมโครเวฟ” ได้รับรางวัล Silver Medel และ Special Prize ณ งาน The 47th International Exhibition of Inventions Geneva, ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
เจ้าของผลงาน
- ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
(ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- นายวุฒิพงษ์ ปรีชาพลกุล
(นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร (คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์)
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาจาก ศูนย์ CED-Square ได้ส่งผลงานเข้าประกวด 2 ผลงาน ในหมวด สาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในงานThailand Research Expo 2018 มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561 ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 9 – 13 สิงหาคม 2561 ณ ห้อง Lotus suite 1-4 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยังยืน”และได้รางวัลทั้งสองผลงาน คือ
1. Space Walker v.5
รางวัล ข้อเสนอโครงการ ระดับ ดี
รางวัลผลงาน ระดับดีเด่น(รางวัลชนะเลิศ)
2. Petite Walker สำหรับเด็กพิการทางสมอง
รางวัลผลงาน ระดับดีมาก(รางวัลรองชนะเลิศ)
ที่มา http://www.cedsquaretu.com/events/-thailand-research-expo-2018#comments
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ นางสายรัก สอาดไพร เจ้าของผลงาน Sit to Stand Trainer โดยมี ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัล “ผู้นำด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย” จากท่านอธิการบดีกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ. ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน 24-25 สิงหาคม 2561 โดยมีผู้แทนจากศูนย์ CED-Square คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ มธ. ขึ้นรับรางวัลดังกล่าว
ที่มา : http://www.cedsquaretu.com
ขอแสดงความยินดีกับ นพ.เถลิงเกียรติ แจ่มอุลิตรัตน์ ป.โท วิศวกรรมทางการแพทย์ ได้รับรางวัล Runners up best paper ในงานประชุมวิชาการ ME-NETT 2021
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ นางสายรัก สอาดไพร เจ้าของผลงาน Sit to Stand Platform โดยมี ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง หมวดการแพทย์และสาธารณสุข ในงานรางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ ประจำปี 2561 โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ผลงาน Sit to Stand Trainer จาก มธ. ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท และโล่เกียรติยศ ในงาน งานประกวด ITCi Award นวัตกรรมบ้านผู้สูงวัย
จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ สํานักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน และสถาบันพลาสติก กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุนโดย Autodesk Thailand วันที่ 8 กันยายน 2560
ผลงาน Sit to Stand Trainer จาก มธ. ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา 2017 ได้รับโล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 90,000 บาท ความร่วมมือกันระหว่าง นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน2560
เนื่องจากศูนย์ CED-Square ให้ความสนใจอยู่คือ นวัตกรรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเงื่อนไขที่แตกต่่าง เราจึงไม่สามารถเอาอุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับคนวัยทำงาน มาใช้กับผู้สูงอายุได้ แต่ในแง่ของความต้องการแล้ว ผู้สูงอายุมีความต้องการในการออกกำลังกายสูงกว่าวัยหนุ่มสาวเสียอีก แต่ไม่ค่อยมีตัวเลือกมากนักในการออกกำลังกาย
Sit2Stand ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาสำหรับผู้อายุโดยตรง ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพและสมดุลย์ในการเดิน ช่วยลดความเสี่ยงในการล้มของผู้สูงอายุ
จากรางวัลชนะเลิศ จากการประกวด นวัตกรรมทางกีฬา จัดโดยกรมพละศึกษา ผลงาน Sit2Stand ทำให้เห็นว่า นอกจาก Rehab and Assistive Technology แล้ว Sport Science& Engineering จะเป็นอีกสาขาหนึ่งที่เป็นจุดแข็ง มธ.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานรางวัลสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการในงาน i-CREATe 2017 ที่ญี่ปุ่น แก่นักศึกษาที่ชนะการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุซึ่งนักศึกษาจากศูนย์ออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถคว้ารางวัลเหรียญทอง ประเภทสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
Gold Award Technology Category Space Walker : Walker with Partial Weight Body Support.
ผลงานจาก : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย : นายวรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร (วิศวกรรมเครื่องกล) นายรมย์ พานิชกุล (วิศวกรรมเครื่องกล)
นายเมธาสิทธิ์ เกียรติชัยภา (วิศวกรรมเครื่องกล) นางสาว ธันยพร วงศ์วัชรานนท์ (กายภาพบำบัด)
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และ ผศ.ดร. พัชรี คุณค้ำชู
Merit Award & Best Presentation for technology Category Stand by me : Sit2Stand
ผลงานจาก : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย : นางสายรัก สอาดไพร (วิศวกรรมการแพทย์) นายบารมี บุญมี (วิศวกรรมเครื่องกล)
นายศรัญย์พล เสาะสาย (วิศวกรรมไฟฟ้า) และนายชัยพัฒน์ ศรีขจรลาภ (วิศวกรรมไฟฟ้า)
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และ ผศ.ดร. ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์
ที่มา http://www.cedsquaretu.com/
https://www.youtube.com/watch?time_continue=1063&v=s-tipD6ZmwY
ทีม Stand By Me จาก มธ. ได้รับรางวัลที่ 3 จากงาน StartUp Thailand League 2017 จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 จากผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานกว่า 40 ผลงาน จากหลากหลาย มหาวิทยาลัย ทีม Stand by Me ของ มธ. ได้รับรางวัลที่ 3 การจัดประกวดการนำเสนองาน หรือที่เรียกว่า Pitching ศูนย์ CED-Square ของ มธ. ผลงานเข้านำเสนอ 2 ผลงาน คือ
1. ทีม Stand by Me ผลงาน Sit2Stand เป็นนวัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ
2. ทีม Space Walker ผลงาน Walker with Partial Weight Body Support
อีกหนึ่งผลงานจาก ศูนย์ CED-Square จาก ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น ศูนย์ความเป็นเลิศ ของ มธ. ที่มีลักษณะพิเศษในการเน้นผลงานนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหลักของประเทศ สังคมผู้สูงอายุ ผลงาน Sit2Stand และ Space Walker ล้วนออกแบบมาเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุทั้งสิ้น นอกจากนี้ นโยบายสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งเป็นนโยบายที่ รัฐ พยายามที่จะผลักดันให้เกิดขึ้น ศูนย์ CED-Square ของ มธ. ได้ทำการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ จาก นศ. ที่จบจากการศึกษาจากศูนย์เอง ภายใต้การสนับสนุนผลักดันจากทาง มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ซึ่งปัจจุบัน เรามี 2 ผู้ประกอบการรายใหม่แล้ว 2 ราย ที่นำผลงานวิจัยของศูนย์ พัฒนาไปสู่ ผู้ประกอบการ คือ รถเข็นปรับยืนและ อุปกรณ์ช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง IWalk
Cr. ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา
ผศ.ดร. ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ อาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.ดร. จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cedsquaretu.com/
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมประกวดและแสดงนิทรรศการในงาน Seoul International Invention Fair 2016 (SIIF 2016) ระหว่างวันที่ 1-4 ธ.ค.2559 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
นำโดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับ ดังนี้
- น.ส. พัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล
1. ผลงาน เรื่อง “การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการรักษาก้อนมะเร็งด้วยเลเซอร์”
รางวัลที่ได้รับ: เหรียญทอง Gold Prize
2. ผลงาน เรื่อง “ลดความเสี่ยงด้วยการเลเซอร์ความงาม”
รางวัลที่ได้รับ: เหรียญเงิน Silver Prize
และ Special Prize on stage of Ministry of Education and Science of the Russian Federation
- น.ส.เปรมปรียา มณเฑียรทอง
1. ผลงาน เรื่อง “การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการสำรวจการแทรกซึมผ่านของเนื้อครีมผ่านชั้นผิวหน้า ธุรกิจความงาม”
รางวัลที่ได้รับ: เหรียญทอง GOLD PRIZE
และ Special Prize of Ministry of Education and Science of the Russian Federation
นางสาวพัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล นักศึกษาระดับปริญญาเอก หมวดวิชาชีวกลศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช เป็นตัวแทนประเทศไทยในการจัดนิทรรศการและประกวดนวัตกรรม และ เป็น Keynote Speakers: Research and Development of Bio-Medical in Thailand: Cancer Treatment by Laser, ในงาน ASEAN Council of Japan Alumni 2016 (ASCOJA 2016) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ได้รับ รางวัล Gold award และ Best Invention in Biotechnology (Cancer treatment by laser) สนับสนุนโดย สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.น.ญ.: OJSAT) และ ASIA JAPAN ALUMNI (ASJA)
นางสายรัก สอาดไพร นักศึกษาปริญญาเอก หมวดชีวกลศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการแพทย์ โดยมี ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ เป็นที่ปรึกษา ร่วมกับ นักศึกษาวิทยาศาสตร์การกีฬาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งผลงานนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้าประกวด ชื่อผลงาน Swimming Floatation Device for Physical Fitness Development เป็นผลงานบุกเบิกนวัตกรรมวิทยาศาสตร์การกีฬา ของศูนย์ออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (CED-Square) ในงานประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Science Innovative Contest 2016) เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ณ อาคารกีฬานิมิตรบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นางสาวพัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ หมวดวิชาชีวกลศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับรางวัลเหรียญเงิน, เหรียญทองแดง และรางวัล Special Prize ในงานประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์"44th International Exhibition of Inventions of Geneva", Switzerland" 13 -17 เมษายน 2559
เหรียญทองแดง , รางวัลพิเศษ Special Prize
เรื่องที่ 1. พัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล ผศ.ดร ธีระพจน์ เวศพันธุ์ อ ผดุงศักดิ์
"การจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยด้วยวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์สำหรับการบำบัดเชิงความร้อนด้วยเลเซอร์ในชั้นเนื้อเยื่อมนุษย์ (Computer Simulation Based on FEM of Laser-induced Thermotherapy in Human Layered Skin-Tissue"
เหรียญเงิน
เรื่องที่ 2. พัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล ดร พรทิพย์ แก่งอินทร์ อ ผดุงศักดิ์
"การบำบัดเซลล์มะเร็งตับด้วยคลื่นไมโครเวฟผ่านท่อแอนเทนนา: การจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยด้วยวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์ และการทดลอง (The Liver Cancer Treatment Using Microwave Coaxial Antenna: Computer Simulation Based on FEM and Experiment)"
นางสาวพัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ หมวดวิชาชีวกลศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับรางวัลเหรียญเงิน, เหรียญทองแดง และรางวัล Special Prize ในงานประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์"44th International Exhibition of Inventions of Geneva", Switzerland" 13 -17 เมษายน 2559
เหรียญทองแดง , รางวัลพิเศษ Special Prize
เรื่องที่ 1. พัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล ผศ.ดร ธีระพจน์ เวศพันธุ์ อ ผดุงศักดิ์
"การจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยด้วยวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์สำหรับการบำบัดเชิงความร้อนด้วยเลเซอร์ในชั้นเนื้อเยื่อมนุษย์ (Computer Simulation Based on FEM of Laser-induced Thermotherapy in Human Layered Skin-Tissue"
เหรียญเงิน
เรื่องที่ 2. พัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล ดร พรทิพย์ แก่งอินทร์ อ ผดุงศักดิ์
"การบำบัดเซลล์มะเร็งตับด้วยคลื่นไมโครเวฟผ่านท่อแอนเทนนา: การจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยด้วยวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์ และการทดลอง (The Liver Cancer Treatment Using Microwave Coaxial Antenna: Computer Simulation Based on FEM and Experiment)"
หุ่นยนต์เครื่องช่วยฝึกเดินด้วยการช่วยพยุงน้ำหนักบางส่วน (TU GAIT TRAINER) คว้า 2 รางวัล ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2558 (Thailand Research Expo 2015)
ระหว่างวันที่16 – 20 สิงหาคม พ.ศ.2558 ที่บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ระดับดีมาก ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี2558 โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ชนะเลิศ การเขียนข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ปี 2558 โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
หัวหน้าคณะผู้ประดิษฐ์/คณะผู้ ประดิษฐ์
ธนพล ลัคนาวัฒน์ ปริญญาเอก สาขาวิชา วิศวกรรมทางการแพทย์
ปฏิภาณ ภู่ขาว ปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
กรวัฒน์ แสงประสาทพร ปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
นางสาวณัฐสุดา รัตนบุรี ปริญญาตรี คณะสหเวชศาสตร์
นายฐิติกร จันทาทร ปริญญาตรี คณะสหเวชศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.บรรยงค์ รุ่งเรื่องด้วยบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พัชรี คุณค้ำชู คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รองศาสตราจารย์ณรงค์ บวบทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์