ชีวกลศาสตร์
ชีวกลศาสตร์

ชีวกลศาสตร์เป็นสหวิทยาการร่วมระหว่างความรู้ ทางการแพทย์ และความรู้ทางวิศวกรรมในด้านกลศาสตร์ของแข็ง และกลศาสตร์ของไหล ที่ศึกษาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของอวัยวะส่วน ต่าง ๆ เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นเลือด หัวใจ สมอง เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่ ความเร็ว แรง ความดัน ความเค้น ความแตกหักหรือเสียหายของอวัยวะ แต่ละส่วน นำไปสู่องค์ความรู้ด้านการออกแบบ การผลิต การซ่อม บำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์การกีฬา และอวัยวะเทียม รวมถึงการป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟู อวัยวะส่วนต่าง ๆ จากการชำรุดเสียหายของอวัยวะ ดังนั้นสาขาวิชาชีวกลศาสตร์ เหมาะสำหรับนักออกแบบ ผู้ผลิต พนักงานซ่อมบำรุง นักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ

  1. เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือ ผ่าตัดสลายต้อกระจก เป็นต้น
  2. เครื่องมือและอุปกรณ์การกีฬา เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เทนนิส เป็นต้น
  3. เครื่องมือและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยและปกป้อง อวัยวะและร่างกาย เช่น หมวกกันน๊อค ถุงลมนิรภัย เป็นต้น
  4. อวัยวะเทียม เช่น สะโพกเทียม รากฟันเทียม เท้ายาง เทียม เป็นต้น
  5. การออกแบบกายอุปกรณ์ต่างๆ ให้กับคนป่วย คนพิการ และผู้สูงอายุ เช่น รถนั่งคนพิการแบบปรับยืนได้ แขน และขาเทียม
  6. การป้องกันและการรักษาคนป่วย การจัดการศึกษาในหลักสูตร เน้นกระบวนการศึกษาและ วิจัยเชิงบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตรการแพทย์และ วิศวกรรมศาสตร์ให้สามารถนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในระดับ ห้องปฏิบัติการวิจัยและระดับอุตสาหกรรมจริง โดยทีมอาจารย์ และนักวิจัยที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง
ระดับปริญญาโท
2. นางสาวเมวลี จิโรจนนุกุล (สำเร็จการศึกษา)

4. นายอรรถพร ละม้ายขำ (สำเร็จการศึกษา)

6. นางสาวคคนันท์ งามเด่นเจริญศรี (สำเร็จการศึกษา)
    ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก

7. นายอรรถกร สุวนันทวงศ์ (สำเร็จการศึกษา)
    รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา

8. นายเถลิงเกียรติ แจ่มอุลิตรัตน์ (สำเร็จการศึกษา)
    ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา
    วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาเทคนิคในการเคลือบวัสดุผสมกราฟีน (Graphene-based
    Nanocomposite Material) บนกระจกและแผ่นอลูมิเนียมและการศึกษาประสิทธิภาพ
    ของวัสดุผสมกราฟีนบนกระจก
และแผ่นอะลูมิเนียมในการลดทอนปริมาณรังสีเอกซ์

9. นายรเมศ เวสสวรรณ
    รศ.ดร.วิโรจน์ ลิ่มตระการ
    วิทยานิพนธ์ : การพัฒนาอุปกรณ์กดห้ามเลือดบริเวณขาหนีบภายหลังการสวนหัวใจ

10. นายรัฐภูมิ วัชโรภาส
      รศ.ดร.วิโรจน์ ลิ่มตระการ อาจารย์ที่ปรึกษา
      วิทยานิพนธ์ : การพัฒนา locking plate รูปแบบใหม่ สําหรับกระดูกต้นแขนหักชนิด
      Greater tuberosity humeral ด้วยวิธีการวิเคราะห์ชีวกลศาสตรจากต้นแบบPhilos
      plateโดยวิธี Finite element

11. นางสาวเสาวลักษณ์ มานะกิจไพบูลย์
      ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
      วิทยานิพนธ์ : การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยพยุงแขนสําหรับกายภาพบําบัดใน
      ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ

12.  นางสาวพิชญ์สุกานต์ญา คุณดิลกรัถยา
       ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
       วิทยานิพนธ์ : เครื่องออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

13. นายวรกันต์ อัศวโชคสุวรรณ
      ผศ.ดร.ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์
      วิทยานิพนธ์ :  อุปกรณ์ประคบเย็นสำหรับปฐมพยาบาลนักกีฬาเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บเฉียบพลันระหว่างการแข่งขัน

14.  นายอรรถพล วงศ์ตาเขียว
       รศ.ดร.วิโรจน์ ลิ่มตระการ
       วิทยานิพนธ์ : การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับเพิ่มการทำงานของมือในผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บระดับต้นคอในระยะเรื้อรัง

ระดับปริญญาเอก

4. นายธนพล ลัคนาวัฒน์ (สำเร็จการศึกษา)
    ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา

5. นางสายรัก สอาดไพร (สำเร็จการศึกษา)
    ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา 
    วิทยานิพนธ์ : Sit to stand trainer: design and development of exercise  machine for elderly

7. นางสาวนพมาศ แตงมณี (สำเร็จการศึกษา)
    รศ.ดร.วิโรจน์ ลิ่มตระการ อาจารย์ที่ปรึกษา

9.  นายอมากร พุ่มมูล
       ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา
       วิทยานิพนธ์ : การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจาก
       การอุดกั้นทางทันตกรรมแบบใหม่ ประเภทดึงขากรรไกรล่าง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ
       ไม่รุนแรง

10. นางสาวสุภาวดี ทับกล่ำ
      ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช อาจารย์ที่ปรึกษา
      วิทยานิพนธ์ : ผลของแสงและการถ่ายเทคความร้อนขณะส่องไฟรักษาต่อประสิทธิภาพการรักษาทารกที่มีภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง

11.  นางสาวคคนันท์ งามเด่นเจริญศรี
       ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
       วิทยานิพนธ์ : การออกแบบและพัฒนาระบบอุปกรณ์ช่วยใช้งานมือร่วมกับกระแส
       ไฟฟ้ากระตุ้นผ่านผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีแรงมือและแขนบาง
       ส่วนร่วมกับมีอาการเกร็งงอข้อมือและนิ้วมือ

12.  นายนิธิเศรษฐ เพชรจู
       ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา
       วิทยานิพนธ์ : การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยลดภาระงานของไหล่

13.  นางสาวธันยพร วงศ์วัชรานนท์
       ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา
       วิทยานิพนธ์ : ประสิทธิภาพของเครื่องฝึกการทํางานของแขนแบบฝึกแขนสองข้างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง

14.  นายพิริยะ สุวรรณดิษฐ์
       ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา
        วิทยานิพนธ์ : การออกแบบและพัฒนาเครื่องไอโซไคเนติคเพื่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อลายในผู้สูงอายุ

15.  นายภูมิ นวลจันทร์ 
       ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา
       วิทยานิพนธ์ : Hand Rehabilitation for Post Stroke Patient using Leap Motion-based Virtual Reality
โครงการหลักสูตรวิศวกรรมทางการแพทย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โทร : 0 2564 3001 ต่อ 3113, 3220
อีเมล : psangtea@engr.tu.ac.th, ljanyapo@engr.tu.ac.th