คู่มือการศึกษา
คู่มือการศึกษา ป.เอก

 ป. เอก แผน 1.1ป. เอก แผน 2.1ป. เอก แผน 2.2หมายเหตุ
ภาคฤดูร้อน

เสริมพื้นฐาน 6 หน่วยกิต

  • มอ.510 วิศวกรรมทางการแพทย์เบื้องต้น  2 หน่วยกิต
  • มอ.511 คณิตศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ 2 หน่วยกิต
  • มอ.512 กายวิภาคศาสตร์ 2 หน่วยกิต
  • มอ.513 สรีรวิทยา 2 หน่วยกิต

                

จบสายวิศวะและจบสายวิทยาศาสตร์
จบสายวิทยาศาสตร์
จบสายวิศวะ
จบสายวิศวะ
ปี 1 เทอม 1วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตมอ.610 วิธีวิจัย 3 หน่วยกิต
มอ.611 คณิตศาสตร์วิศวกรรม ทางการแพทย์ 2 หน่วยกิต
มอ.612 สัมมนาทางวิศวกรรมทางการแพทย์ 1 หน่วยกิต
มอ.610 วิธีวิจัย 3 หน่วยกิต
มอ.611 คณิตศาสตร์วิศวกรรมทางการแพทย์ 2 หน่วยกิต
มอ.612 สัมมนาทางวิศวกรรมทางการแพทย์ 1 หน่วยกิต

รายวิชาบังคับต้องได้ค่าระดับไม่ต่ำกว่า B
ถ้าได้ค่าระดับต่ำกว่า B สามารถลงเรียนซ้ำได้ 1 ครั้ง
ถ้าไม่ผ่านอีกจะถูกถอนชื่อจากการเป็นนักศึกษา

ปี 1 เทอม 2วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
สอบวัดคุณสมบัติ
วิชาเลือก 9 หน่วยกิต 
ปี 2 เทอม 1วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
สอบวัดคุณสมบัติ
 
ปี 2 เทอม 2วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต 
ปี 3 เทอม 1วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต 
ปี 3 เทอม 2วิทยานิพนธ์ 3 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต 
ปี 4 เทอม 1--วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต 
ปี 4 เทอม 2--วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต 
    

การลงทะเบียน
-  การลงทะเบียนรายวิชาในแต่ละภาค
การศึกษาภาคปกติต้องลงทะเบียนไม่ต่ำกว่า
6 นก.และไม่เกิน15 นก.
-  รายวิชาเลือกที่ได้ค่าระดับต่ำกว่า C
สามารถลงทะเบียนรายวิชาซ้ำได้หรือ
จะลงทะเบียนวิชาเลือกรายวิชาอื่นก็ได้

การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)

1.นักศึกษาแผนการศึกษา แบบ 1.1 แบบ 2.1 และ แบบ 2.2 มีสิทธิที่จะสอบวัดคุณสมบัติเมื่อจดทะเบียนมา
   แล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา

2. การสอบวัดคุณสมบัติประกอบด้วยการสอบข้อเขียนและสอบปากเปล่าดำเนินการโดยคณะกรรมการ
    สอบวัด คุณสมบัติที่แต่งตั้งโดยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาต้องสอบวัดคุณสมบัติให้ได้ P
    (ผ่าน) 
ภายใน 3 ครั้ง มิฉะนั้นจะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา ทั้งนี้เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อ
    บังคับของ  
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2553 แก้ไขเพิ่มเติมถึง
    ฉบับที่ 9 
พ.ศ.2556 

การทำวิทยานิพนธ์

1) นักศึกษาแผนการศึกษา แบบ 1.1 สามารถจดทะเบียนวิทยานิพนธ์ได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

2) นักศึกษาแผนการศึกษา แบบ 2.1 และ แบบ 2.2 จะจดทะเบียนวิทยานิพนธ์ได้เมื่อศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ หรือจะต้องมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 และรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก จะต้องสอบได้ไม่ต่ำกว่าค่าระดับ B และสอบวัดคุณสมบัติได้ระดับ(ผ่าน)

3)  นักศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

4)  นักศึกษาจะต้องรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ทุกภาคการศึกษาที่มีการลงทะเบียน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เป็นผู้ทำหน้าที่ในการประเมินความก้าวหน้า และ/หรือแต่งตั้งกรรมการร่วมประเมินกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2553 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9 พ.ศ.2559

5) ให้คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะให้คำแนะนำรวมทั้งสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์และสอบวิทยานิพนธ์

6) หลังจากจดทะเบียนวิทยานิพนธ์แล้ว เมื่อนักศึกษาจัดทำเค้าโครงวิทยานิพนธ์เสร็จ ให้คณบดีแต่งตั้งกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นกรรมการชุดเดียวกับกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ รวมไม่น้อยกว่า 5 ท่าน ซึ่งประกอบไปด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัย โดยประธานกรรมการสอบต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558

7)  อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และ/หรือ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

การสอบวิทยานิพนธ์

1) อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

2) นักศึกษาจะสอบวิทยานิพนธ์ได้เมื่อสอบภาษาต่างประเทศผ่านแล้ว

3) การสอบวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และการสอบวิทยานิพนธ์ที่จะได้ผลระดับ S ต้องได้มติเอกฉันท์จากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

4) การสอบวิทยานิพนธ์ ต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

แผนการศึกษา แบบ 1.1

 (1) ได้ลงทะเบียนวิทยานิพนธ์โดยมีจำนวนหน่วยครบตามโครงสร้างหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

 (2) ได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในการสอบภาษาต่างประเทศตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

 (3) ได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในรายวิชาเสริมพื้นฐาน (สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐาน)

 (4) ได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในการสอบวัดคุณสมบัติ

 (5) ได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการสอบวิทยานิพนธ์ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่คณะ

วิศวกรรมศาสตร์แต่งตั้ง ต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และและจัดทำวิทยานิพนธ์ตามรูปแบบที่ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดและนำส่งวิทยานิพนธ์เข้าระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ให้มหาวิทยาลัยตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ พ.ศ. 2559

 (6)  ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย  2  เรื่อง โดยผลงานนี้จะต้องได้การรับรองจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

 (7) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนด

 

การสำเร็จการศึกษา แผนการศึกษา แบบ 2.1 และ 2.2 

 (1) ได้ศึกษาลักษณะวิชาต่างๆ และสอบผ่านครบตามโครงสร้างหลักสูตร โดยมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า48
หน่วยกิต (แผนการศึกษาแบบ 2
.1) และไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต (แผนการศึกษาแบบ 2.2)

 (2) ได้ค่าเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00

 (3) ได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในรายวิชาเสริมพื้นฐาน (สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐาน)

 (4) ได้ค่าระดับ P ในการสอบภาษาต่างประเทศตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

 (5) ได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในการสอบวัดคุณสมบัติ

 (6) ได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการสอบวิทยานิพนธ์ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่คณะ

วิศวกรรมศาสตร์แต่งตั้งต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และจัดทำวิทยานิพนธ์ตามรูปแบบที่หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดและนำส่งวิทยานิพนธ์เข้าระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ให้มหาวิทยาลัยตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ พ.ศ. 2559

 (7) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย  1  เรื่อง โดยผลงานนี้จะต้องได้การรับรองจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

 (8)  ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนด

เกณฑ์ภาษาต่างประเทศระดับปริญญาเอก

(1) TOEFL (Paper-based) หรือ TOEFL-ITP (Institutional Testing Program) หรือ TU-GET 550 คะแนนขึ้นไป 

(2) TOEFL (Computer-based) 213 คะแนนขึ้นไป

(3) TOEFL (Internet-based) 79 คะแนนขึ้นไป (4) IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป
โครงการหลักสูตรวิศวกรรมทางการแพทย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โทร : 0 2564 3001 ต่อ 3113, 3220
อีเมล : psangtea@engr.tu.ac.th, ljanyapo@engr.tu.ac.th