ความเป็นมา
ความเป็นมาของหลักสูตร

โครงการหลักสูตรวิศวกรรมทางการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-ปริญญาเอก) เมื่อปี 2552 เป็นหลักสูตรที่มีองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ ระหว่างวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ด้วยความร่วมมือระหว่าง 5 คณะฯ กับ 1 โรงพยาบาล ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ผู้ที่จบปริญญาจากหลักสูตรนี้จะมีความรู้ ประสบการณ์การทำวิจัยและพัฒนา และมองประเด็นปัญหาอย่างบูรณาการ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหาของสุขภาพและการดูแลรักษาโรคโดยแพทย์มีความสำคัญมากขึ้นทุกวันเนื่องจากเป็นผลกระทบหลักต่อคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนการดูแลรักษาพยาบาลในอดีตที่ผ่านมาใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เป็นหลัก ต่อมาเมื่อมีการนำเอาความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาร่วมด้วยทำให้การดูแลรักษาพยาบาลเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นในหลักสูตรนี้จึงได้นำเอาความรู้ด้านวิศวกรรม การแพทย์ สาธารณสุข วิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาและผติตเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ พัฒนาและสร้างอวัยวะเทียม และช่วยบำบัดรักษาโรคที่มีความยากและความสำคัญมากขึ้นทุกวันอันจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพของมนุษย์ต่อไป

หลักสูตร มีสาขาย่อย 4 สาขา ดังนี้
  • ชีวกลศาสตร์ (Biomechanics)
  • การประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์  (Biomedical Signal Processing)
  • ปัจจัยมนุษย์ในงานวิศวกรรมและการยศาสตร์ (Human Factors in Engineering and Ergonomics)
  • การจำลองทางสรีรวิทยาและวิศวกรรมทางการแพทย์ (Physiological & Medical Engineering Modeling)
โครงการหลักสูตรวิศวกรรมทางการแพทย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โทร : 0 2564 3001 ต่อ 3113, 3220
อีเมล : psangtea@engr.tu.ac.th, ljanyapo@engr.tu.ac.th